สยามฟาร์ม SiamFarm
ขอเชิญเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ แชร์เรื่องราวที่อาจมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยนะครับ
หัวข้อ: ขมิ้นชัน สุดยอดสมุนไพร เริ่มหัวข้อโดย: civilthai ที่ มกราคม 31, 2017, 11:48:32 pm ขมิ้นชัน สมุนไพรต้านมะเร็ง สารสกัดขมิ้นชัน (Curcuminoids) สารสำคัญในขมิ้นชัน (Curcuma longa Linn.) ในเหง้าขมิ้นชันมีสารสำคัญในการ ออกฤทธิ์ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (volatilc oil) และกลุ่มสารสีเหลืองส้มที่ เรียกว่า เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) สารทั้ง ๒ กลุ่มจะออกฤทธิ์เสริมกันในการ รักษาอาการแน่นจุกเสียด สารกลุ่มเคอร์มินอยด์ ประกอบด้วยสารหลัก ๓ ตัว คือ curcumin, demethoxycurcumin และ bisdemethoxy curcumin ปริมาณเคอร์ คูมินอยด์ที่พบในเหง้าขมิ้นชันแตกต่างกันในแต่ละแหล่งปลูก (วัตถุดิบขมิ้นชันที่ดีควร มีเคอร์คูมินอยด์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕) ได้มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์ อย่างกว้างขวางในต่างประเทศ พบว่า มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี นอก จากนี้ในการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์บำรุงและรักษาตับ ช่วยป้องกันมะเร็ง การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ข้ออักเสบ ธาลัสซีเมีย ลดระดับคอเลสเตอรอล และป้องกันสมองเสื่อม งานวิจัยทางด้านการแพทย์รายงานถึงคุณประโยชน์ในของขมิ้นชัน ต่างๆ ระบบทางเดินอาหาร ช่วยรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ ลดแผลในกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงตับ ลดการปวดมดลูก ลดการเจ็บป่วยจากโรคลำไส้ อักเสบเรื้อรัง ขมิ้นชันช่วยแก้ท้องอืดเฟ้อด้วยการขับลม นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ อาหาร และฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบจากสารพิษอีกด้วย จากผลดังกล่าว ขมิ้นจึงมีผลช่วยบรรเทา อาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้ และช่วย แก้ท้องอืดเฟ้อและช่วยย่อยอาหาร ระบบหัวใจ หลอดเลือดหัวใจและสมอง สารเคอร์คูมินอยด์ ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ และมีงานวิจัยในหนูทดลองว่า ลดการเกิดปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้จริง โดยการวิจัยได้ทดลอง ผูกเส้นเลือดหัวใจ ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมินอยด์ จะมีปริมาณ กล้ามเนื้อหัวใจตายน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ในทำนองเดียวกัน สารเคอร์คูมินอยด์ใน ขมิ้นชัน มีผลในการป้องกัน เซลล์สมองตายจากการขาดเลือดได้ ขมิ้นช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด ขมิ้นได้รับการวิจัยมากขึ้นและพบว่า สามารถให้เสริมกับยาต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยกันทำลายเซลล์มะเร็ง โดยกลไกอื่น ๆ อีกเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากยาต้านมะเร็ง และ ขมิ้นยังได้รับคำแนะนำว่ามีบทบาทในการป้องกันมะเร็งได้มาก เนื่องจากมีกลไกป้องกันมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ ระยะหนึ่งและสอง (Phase I and II carcinogen-metabolizing enzymes) ในการทำงานก่อมะเร็งของสารเหนี่ยวนำมะเร็งอีกด้วย สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน มีฤทธิ์ยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็งของมนุษย์ได้หลายชนิด เช่น เซลล์มะเร็งตับ, เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (T cell Leukemia), เซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer cell), เซลล์มะเร็งปอด ชนิด non small cell Carcinoma ทำให้มีการเสนอแนะว่า ขมิ้นชัน น่าจะมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งปอด ในผู้ที่สูบบุหรี่ เซลล์มะเร็งผิวหนัง (melanoma), เซลล์มะเร็งต่อมนำเหลือง (Non-Hodgkin's lymphoma), เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Human colon adenocarcinoma), เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก, เซลล์มะเร็งรังไข่, เซลล์มะเร็งเต้านม และเนื่องจากขมิ้นชันช่วยยับยั้ง ไวรัสหูด HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักและ ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ขมิ้นบำรุงสมอง มีการค้นพบว่าโรคอัลไซเมอร์ หรือ สมองเสื่อม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ และกลไกของ การต้านอนุมูลอิสระ อาจมีบทบาทในการป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ซึ่งตอนนี้ ได้มี งานวิจัย ที่บอกว่า ขมิ้นชันก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่น่าจะมีบทบาทในการป้องกันโรคนี้ สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับเคอร์คูมินอยด์ เคอร์คูมินอยด์ลดการสร้างอนุมูลอิสระของไขมันและลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมี นัยสำคัญในคน ขนาดเคอร์คูมินอยด์ที่ใช้ประมาณ 500 มก./วัน หรือเทียบเท่า ขมิ้นแห้งที่ได้มาตรฐานประมาณ 10 กรัม เคอร์คูมินอยด์ป้องกันโรคสมองเสื่อมโดยลดจำนวนกลุ่มของสารซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม ได้ในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ เคอร์คูมินอยด์ ยังช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อสมองที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองเสื่อมและ ลดการเสียหาย เนื่องจาก การเกิดอนุมูลอิสระของเซลล์ในสมอง เคอร์คูมินอยด์ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งบางชนิดและโรคอักเสบอย่างเรื้อรังในสัตว์ทดลอง จากการศึกษามะเร็งเต้านมในคน เคอร์คูมินอยด์สามารถลดการเติบโตของมะเร็งเต้านมที่เกิด จากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่เป็นสาเหตุการเกิดของมะเร็งเต้านมได้ ในสัตว์ทดลองบพว่าเคอร์คูมินและ อนุพันธ์ ของเคอร์คูมินสามารถยับยั้งการเกิดปฏิกริยาเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่ลำไส้ และผิวหนัง เคอร์คูมินอยด์ป้องกันสารเคมี ยาฆ่าแมลงที่มีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน รวมทั้ง ดีดีที และไดอ๊อกซิน ไม่ให้เข้าสู่เซลล์และป้องกันเซลล์ไม่ให้เป็น มะเร็ง ได้มีการทดลองทางคลินิกพบว่าการให้เคอร์คูมินอยด์ขนาด 1200 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์ มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ โดยเคอร์คูมินอยด์ไปยับยั้ง การสร้างเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารที่ก่อให้เกิด การอักเสบ เคอร์คูมินอยด์จึงสามารถนำมาใช้ต้านการอักเสบได้ เหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องปวดข้อ แต่ทานยาแผนปัจจุบันไม่ได้เพราะมีผลข้างเคียงมากมาย โดยเฉพาะผลต่อกระเพาะ อาหาร สารสกัดขมิ้นชันมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคผิวหนังโดยเฉพาะ เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก ขมิ้นชันยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ เคอร์คูมิน น้ำมันหอมระเหย และ p-tolylmethylcarbinol การศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่าสารเคอร์คูมินอยด์ ในขมิ้นชันมีฤทธิ์ที่เป็น ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันตับจากสารพิษ และป้องกันการเกิดมะเร็ง เป็นต้น แต่ต้องรับประทานในปริมาณมากเพื่อที่จะได้รับผลดังกล่าว สำหรับประเทศไทยโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม จึงได้พัฒนาวิธีสกัดเคอร์คูมินอยด์ จากขมิ้นชัน ผลิตเป็นแคปซูลโดยควบคุมให้แต่ละแคปซูลมีสารเคอร์คูมินอยด์ 250 มิลลิกรัม เพื่อให้ได้รับเคอร์คูมินอยด์ ในปริมาณที่สม่ำเสมอและลดกลิ่นของขมิ้นชัน เนื่องจากได้สกัดเอาสารหอมระเหยออกไป สารสกัดขมิ้นชันขององค์การเภสัชกรรมได้ผ่านการทดสอบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและผ่านการทดลองจากสถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เพื่อให้สามารถนำขมิ้นชันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ข้อควรระวัง: ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตร และผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.greenclinic.in.th/ (http://www.greenclinic.in.th/) สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม http://www.curcuminoids.com/ (http://www.curcuminoids.com/) สารสกัดขมิ้นชัน http://www.greenclinic.in.th/images/stories/herbs/curcuminoids.pdf (http://www.greenclinic.in.th/images/stories/herbs/curcuminoids.pdf) ขมิ้นชัน สมุนไพรต้านมะเร็ง (http://www.youtube.com/watch?v=S8lOL429Lak#) เว็บไซด์ สยามฟาร์ม Powered by Civilthai.com
|