สยามฟาร์ม SiamFarm
ขอเชิญเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ แชร์เรื่องราวที่อาจมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยนะครับ
หัวข้อ: ปัญหาไนเตรดตกค้างในพืช Hydroponics เริ่มหัวข้อโดย: civilthai ที่ มิถุนายน 17, 2017, 01:05:22 pm มีคนพูดถึงเรื่องกินผักแล้วเสี่ยงเป็นมะเร็งกันมาก รวมทั้งที่ตกเป็นข่าวก็เยอะ วันนี้เลยขอรวบรวมข้อมูลเรื่องความเสี่ยงต่อการกินผักที่ปลูกในระบบ Hydroponics มาให้รับทราบกันครับ ว่าเรื่องจริงเป็นอย่างไร....
(http://siamfarm.com/jrstw/Hydroponics/Nitrates/hydroponics - Cancer.JPG) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ผักไฮโดรโปนิกส์... เสี่ยง “มะเร็งลำไส้” จริงหรือไม่ ? - คม ชัด ลึก website http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865 (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865) อันตรายจากสารไนเตรต-ไนไตรต์ (Nitrate-Nitrite) - ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/326/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%95-%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%8C/ (http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/326/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%95-%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%8C/) ผมขออ้างอิงข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาเพื่อประกอบในการตัดสินใจนะครับ "มีการส่งข้อมูลนี้ในหลายๆไลน์เป็นข้อมูลเก่าเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว อ่านข้อมูลทั้งหมดจนจบจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนจะพบว่าการปลูกผักไฮโดรฯส่วนใหญ่เป็นการปลูกผักสลัด ซึ่งผลตกค้างของไนเตรทจะต่ำก่วาค่ามาตราฐานมาก การตรวจสอบล่าสุดพบว่าการปลูกผักในดินนอกจากมีไนเตรทสูงก่วามาตราฐานแล้วยังมีพวกโลหะหนักเช่น ตะกั่ว อาซินิค ฯลฯ ติดมาด้วย นอกจากนั้นวิธีปลูกในระบบไฮโดรฯจะมีการลดความเข้มข้นของสารละลาย (ลด E.C)ก่อนการเก็บผักทุกครั้ง จึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครับ" "มีคนแชร์มาให้อ่านอ่ะค่ะ"ผักไฮโดรโปนิก. กับ มะเร็งที่ลำไส้ เนื่องจากใส่ปุ๋ยน้ำที่เร่งให้ใบเขียวและเร่งการเจริญเติบโตมาก คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าผักไฮโครโปนิค ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง เป็น organic แต่แท้จริงแล้วมีปั๋ยเคมีเร่งใบ สูงมาก เห็นคุณสาลี อ่องสมหวัง แห่งมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค โพสเรื่องนี้ในเฟสบุ๊ค ของท่านเห็นว่า พวกเรามีคนรักสุขภาพกันมาก เลยขอแชร์ลิงค์มาให้พวกเราได้อ่านกัน. เป็นข้อมูลไว้พิจารณาฯ http://food4change.in.th/ariticle/news-launcher/bad-news/394-2010-12-03-06-53-07.html (http://food4change.in.th/ariticle/news-launcher/bad-news/394-2010-12-03-06-53-07.html)" "สังคมออนไลน์ทำให้ผู้บริโภคไขว้เขวและเข้าใจผิดในหลายๆเรื่องและที่สำคัญคือจะมีกลุ่มหนึ่งที่ไม่ยอมฟังคำอธิบายใดๆทั้งสิ้น แต่เมื่อถึงจุดนั้นผมจะเปรียบเทียบการได้รับไนเตรทจาออาหารที่พวกเขากินกับอยู่เป็นประจำและเป็นข้อเท็จจริงคือ การกินแหนม 1 อันจะเท่ากับการกินผักสลัดประมาณ 10 กก เพราะแหนมต้องใส่ดินประสิวตรงๆเลย รวมถึง แฮม ใส่กรอก หมูแดดเดียว เนื้อแดดเดียว อาหารพวกนี้ใชดินประสิวตรงๆ เลย คงมีทางตอบโต้หรือคำตอบได้แล้วรวมทั้งเอกสารที่ส่งมาให้" "ในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเลี้ยงด้วยน้ำเปล่าเพียงแต่งดใส่ปุ๋ยก่อนเก็บประมาณ3-5 วัน โดยเติมแต่น้ำเปล่าเท่านั้น อีซีก็จะค่อยๆลดลงก็เพียงพอแล้ว แตบางครั้งผักจะแสดงอาการเหลืองๆก็ใช้เหล็กและนิคสเปรย์ แคะ ใส่ในถังสารละลายตรงๆเลย ถังสารละลายขนาด 200 ลิตรแค่ใส่อย่างละ 1 ช้อนชาก็เพียงพอ" (http://siamfarm.com/jrstw/Hydroponics/Nitrates/Max. level of Nitrates.jpg) "ดินประสิว คือโปแตสเซี่ยมไนเตรท (KNO3) ที่ใส่โดยตรงกับเนื้อสัตว์ในกระบวนการผลิต แหนม ใส่กรอก แฮม หมู/เนื้อแดดเดียว เพื่อให้มีสีสดใส และไม่เน่า ต่างจากการนำมาทำเป็นสารละลายธาตุอาหารเพราะต้องมีการแตกตัวเมื่อละลายน้ำเป็นประจุ + และประจุ - ก่อนที่ต้นพืชจะดูดไปใช้โดยต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์ในต้นพืชอีกหลายกระบวนการเพื่อการเจริญเติบโตของต้นพืช ฉนั้นอันตรายจากไนเตรทจึงมีน้อยมากๆ ต่างจากอาหารกลุ่มที่กล่าวข้างต้นจะใส่โดยตรงในกระบวนการผลิตและผู้บริโภคก็จะได้รับสารตรงๆเลย ดูตัวอย่างเปรียบเทียบว่าการรัปทาบแหนม 1 อัน เท่ากับการกินผักเท่าไร" ไนเตรท สารตกค้างในผักไฮโดรโพนิกส์ ไนเตรท สารตกค้างในผักไฮโดรโพนิกส์ (http://www.youtube.com/watch?v=0XSjQyTlB2Q&feature=youtu.be#) รวมข้อคิดเห็นจาก อาจารย์ วีระพล นิยมไทย อดีตอาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรม.เกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกพืชไร้ดินและผักไฮโดรโปนิกส์ อันดับต้นๆของประเทศ ขอขอบคุณข้อมูลและเอกสารอ้างอิงจาก 1. หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก 2. น.ส.พรรณพิสุทธิ์ สันติภราดร (นักวิทยาศาสตร์) ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ: Re: ปัญหาไนเตรดตกค้างในพืช Hydroponics เริ่มหัวข้อโดย: civilthai ที่ กรกฎาคม 12, 2017, 11:15:48 pm ขอขอบคุณ: อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
https://www.facebook.com/search/top/?q=%E0%B8%AD%E0%B9%8B%E0%B8%AD%20%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%20by%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B9%8C (https://www.facebook.com/search/top/?q=%E0%B8%AD%E0%B9%8B%E0%B8%AD%20%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%20by%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B9%8C) "ผักไฮโดรโปนิกส์ (ที่ปลูกได้มาตรฐาน) ไม่ได้เสี่ยงมะเร็งลำไส้ครับ" เรื่องนี้โดนถามมาบ่อยๆ ว่าตามที่มีงานวิจัยของ ม.เกษตร พบว่า "ผักไฮโดรโปนิกส์" มีการสะสมของสารไนเตรตในผักไฮโดรโปนิกสูง โดยเฉพาะในผักคะน้า ซึ่งอาจเป็นภัยเงียบ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ .... ทำเอาหลายๆ คนที่หวังจะมีสุขภาพดีด้วยการหนีจากผักที่ปลูกทั่วๆ บนดิน หันมากินผักไฮโดรโปนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ดินและดูจะสะอาดกว่านั้น กลายเป็นหวาดกลัวไปซะนี่ ... ความจริงแล้ว ยังไม่มีรายงานใดๆ ที่ระบุว่าผักไฮโดรโปรนิกส์จะทำให้เกิดมะเร็งนะครับ !! เรื่องนี้ จริงๆ เคยโพสต์อธิบายไปนานแล้ว ในหัวข้อ "ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการ "ห้ามกิน ผัก-ปลา ที่มีไนเตรตสูง" (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=862059287258040&set=a.341092282688079.1073741827.100003619303769&type=3&theater (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=862059287258040&set=a.341092282688079.1073741827.100003619303769&type=3&theater)) ซึ่งเกี่ยวกับการ"ห้ามกินผักที่มีไนเตรตสูง เช่น ผักโขม ปวยเล้ง กวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า ฯลฯ รวมถึงผักที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิก และห้ามกินกับปลา ห้ามแช่แข็ง ห้ามอุ่นซ้ำ" ซึ่งทั้งหมดนั้น "ไม่จริง" นะครับ (ลองย้อนกลับไปอ่านดูกันได้) ประเด็นความกังวลเรื่องผักไฮโดรโปนิกส์นั้น มาจากบทความ "วิจัยเสี่ยงมะเร็ง! ผัก‘ไฮโดรโปนิก’เหตุใส่ปุ๋ยหนักมือ" ที่อ้างอิงผลการสำรวจของนักวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาการสะสมไนเตรตในพืชผัก ด้วยความกังวลว่า การบริโภคพืชผักที่มีไนเตรตสะสมสูง จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะไนเตรตจะไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิดโรค เช่น มะเร็งลำไส้ ผลการสำรวจของเค้า พบว่า ผักไฮโดรโปนิกส์มีการสะสมไนเตรตสูงสุด โดยผักคะน้ามีค่าเฉลี่ยของไนเตรตสูงถึง 4,529 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ผักบุ้ง มีปริมาณไนเตรต 3,978 มิลลิกรัม ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐานที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ (ไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) ขณะที่ประเทศไทย ไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานค่าไนเตรตในพืชผัก จึงแนะนำให้เอาไปต้มน้ำเดือดหรือนึ่ง 10 นาที จะลดค่าไนเตรตได้ 47% (http://food4change.in.th/ariticle/news-launcher/bad-news/394-2010-12-03-06-53-07.html (http://food4change.in.th/ariticle/news-launcher/bad-news/394-2010-12-03-06-53-07.html)) แต่ๆๆๆ ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลับไปในทางที่เตือนไม่ให้ผู้บริโภคแตกตื่นกับผลวิจัยดังกล่าว โดย กองควบคุมอาหาร ของ อย. ได้บอกว่า ไม่เคยมีผลการวิจัยว่า การรับประทานผักที่มีไนเตรทสะสมอยู่สูงแล้วจะก่อมะเร็งจริง จึงไม่ควรตื่นตระหนก และถ้ากินร่วมกับผักอื่นที่มีวิตามินซี ก็จะช่วยยับยั้งการเปลี่ยนรูปไนเตรทไปเป็นสารก่อมะเร็งได้ (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865 (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865)) ซึ่งตรงกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันโภชนาการ ม. มหิดล ว่ายังไม่มีงานวิจัยยืนยันว่ากินผักแล้วทำให้เป็นมะเร็ง เพราะในผักมีสารธรรมชาติหลายชนิดผสมกันอยู่ มีการช่วยกันยับยั้งการดูดซึม ต่อต้านการแปรรูปของสารเคมี ไม่เหมือนไนเตรทที่ใส่ในเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นการรับสารเคมีเข้าร่างกายโดยตรง (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865 (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865)) ส่วนผู้เชี่ยวชาญของ กรมวิชาการเกษตร ก็บอกว่า ถึงเกษตรกรจะใส่ปุ๋ยให้ผักมากเกินไป แต่ผักก็จะดูดธาตุอาหารอย่างไนโตรเจนไปได้ในปริมาณจำกัด เท่าที่มันจะใช้ในกเจริญเติบโตเท่านั้น ในขณะที่ปัญหาเรื่องการตกค้างของปุ๋ยเคมีในผักนั้นมักจะเกิดขึ้นในประเทศเมืองหนาวที่มีแสงแดดน้อย ทำให้ไนเตรตที่สะสมในผักระเหยตัวได้น้อย ส่วนประเทศไทยมีแสงแดดจัด จึงไม่ต้องกังวลเรื่องสารตกค้างในผัก (https://health.kapook.com/view19328.html (https://health.kapook.com/view19328.html)) ความเห็นนี้ ตรงกันกับของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เชียงใหม่ ที่ระบุว่า พืชผักที่ปลูกในประเทศไทย หรือประเทศเขตร้อน จะมีความเข้มแสงสูงกว่าแถบยุโรป จึุงมีการสะสมของไนเตรตน้อยกว่า โดยผักไฮโดรโปนิกส์ที่ปลูกในแปลงทดลอง ม.เชียงใหม่ เองมีปริมาณไนเตรทน้อยกว่าค่ามาตรฐานด้วยซ้ำ (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865 (http://www.komchadluek.net/news/scoop/279865)) อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของทาง ม.เกษตร ที่ให้เกษตรกรไฮโดรโปนิกส์ ระมัดระวังการใส่ปุ๋ยให้ได้มาตรฐาน ไม่ใส่ในปริมาณมากเกินไป เข้มข้นเกินไปนั้น ก็ยังเป็นคำแนะนำที่ถูกต้องแล้วแน่นอนครับ ดังนั้น กล่าวโดยสรุป ผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ปลูกอย่างเหมาะสมนั้น ไม่น่าที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพใดๆ โดยเฉพาะกับเรื่องการเป็นมะเร็งลำไส้ แต่อย่างไร ... จะเป็นอันตรายก็แต่กระเป๋าตังค์แหล่ะ เพราะมันแพงไม่ใช่เล่น 55 --------------- สนใจหนังสือ "อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" ติดต่อสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ สนพ. มติชน http://www.matichonbook.com/index.php/matichonbook/newbooks/-2997.html (http://www.matichonbook.com/index.php/matichonbook/newbooks/-2997.html) หัวข้อ: Re: ปัญหาไนเตรดตกค้างในพืช Hydroponics เริ่มหัวข้อโดย: civilthai ที่ กันยายน 10, 2017, 03:38:41 pm เรื่อง ความปลอดภัยของผักไฮโดรโพนิกส์
เรียบเรียงโดย ผศ.ดร.ยงยุทธ เจียมไชยศรี ในปัจจุบันกิจกรรมทางด้านการปลูกพืชผักโดยระบบไฮโดรโพนิกส์กำลังดำเนินไปอย่างกว้างขวางควบคู่กันกับการปลูกพืชผักในดิน ผักสลัดในภัตตาคารเกือบทั้งหมดเป็นผักไฮโดรโพนิกส์ แม้ว่าการปลูกผักในสารละลายธาตุอาหารมีมานานแล้วก็ตาม แต่ยังนับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย ประกอบกับคนไทยจำนวนไม่น้อยมีความรู้สึกว่าสารเคมีมีความหมายค่อนไปทางสารพิษ นักไฮโดรโพนิกส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะผมมักจะได้รับคำถามที่เป็นความกังวลที่ว่าผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ต้องมีรากอยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่เป็นของผสมของสารเคมีต่างๆ แล้วผู้บริโภคจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรือไม่ ผู้ที่กังวลมักจะเห็นว่ามันแตกต่างจากการปลูกพืชในดินด้วยปุ๋ยคอกที่คุ้นเคยเป็นอย่างมาก ผมขอเรียนว่าผักไฮโดรโพนิกส์เมื่อปลูกอย่างถูกต้องตามหลักการแล้วเป็นผักที่สะอาด ปลอดภัย และมีรสชาติดีตามความต้องการของผู้บริโภคเพราะมันเป็นผักธรรมดาที่งามดีเท่านั้นเอง ที่จริงแล้วการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์และการปลูกผักในดินด้วยปุ๋ยคอกนั้น เหมือนกันเพราะปุ๋ยหมักนั้นจะยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจนกว่าจุลินทรีย์จะสลายปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักให้กลายเป็นเกลือแร่ของธาตุอาหารเช่นเดียวกับ “สารเคมี” เสียก่อน เกลือแร่ต่างๆ จะละลายในน้ำในดินและพืชจะดูดธาตุอาหารเหล่านั้นในรูปธาตุหรือหมู่ธาตุที่ คือ ประจุ เช่น K+, NH+4, Ca++, NO3-, H2PO4- เป็นต้น โดยกระบวนการแลกไอออน เมื่อพืชดูดไอออนที่ถือประจุบวกเข้าไป พืชจะปล่อย H+ ออกมา และถ้าดูดไอออนที่ถือประจุลบเข้าไปพืชจะปล่อย OH- ออกมา ไม่ว่าจะปลูกในน้ำหรือในดิน บางครั้งผักไฮโดรโพนิกส์ถูกกล่าวหาว่าใส่สารเคมีสารพัดชนิดลงไปในสารละลายปลูกเลี้ยงเพื่อบังคับให้ผักโต ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าสารทุกชนิดในโลกคือสารเคมี สารเคมีที่เราใส่ลงไปเป็นเกลือของธาตุที่เป็นอาหารของพืชและใส่ลงไปในปริมาณมากน้อยตามที่พืชต้องการพืชจึงเจริญเติบโตดี นอกเหนือจาก N P และ K ที่เป็นธาตุอาหารหลักของพืชแล้ว เราใส่เกลือแร่ธาตุอาหารรองและจุลธาตุที่พืชต้องการที่เหมือนกับของคน พืชกับสัตว์รวมทั้งคนนั้น มีที่มาร่วมกันและมีความต้องการธาตุอาหารคล้ายคลึงกัน ถ้าเปรียบเทียบธาตุอาหารรองและจุลธาตุที่เราใส่ลงไปในสารละลายปลูกเลี้ยงกับแร่ธาตุที่มีอยู่ในวิตามินรวมเสริมแร่ธาตุเช่น Centrum จะพบว่าเราไม่ได้ใส่เกินกว่าที่มีอยู่ใน Centrum แต่ใส่น้อยชนิดกว่าด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ได้ใส่โครเมียม ไอโอดีน ซีลีเนียม ซิลิคอน และ วาเนเดียม อีกประการหนึ่งที่มีผู้ท้วงติงว่าผักไฮโดรโพนิกส์มีไนเตรทมากเพราะเราใส่แคลเซียมไนเตรทและ โปแตสเซียมไนเตรทในสารละลายปลูกเลี้ยงผัก ผมขอชี้แจงว่าผักต้องการไนโตรเจนมากในการพัฒนาลำต้น และกิ่งใบ ไม่ว่าจะปลูกโดยใช้ระบบไฮโดรโพนิกส์ หรือในดิน เราก็จะต้องให้ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ในระบบไฮโดรโพนิกส์นั้นเราจำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนในรูปไนเตรทเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ถ้าให้ในรูปแอมโมเนียมพืชจะดูดซึมแอมโมเนียมอย่างรวดเร็วจนนำไปใช้ไม่ทันทำให้เกิดอาการ แอมโมเนียมเป็นพิษและนอกจากนั้นการเจริญของรากจะด้อยลง และอาจถึงกับรากเสีย และอาจเกิดอาการปลายใบไหม้ ผักบางชนิดสามารถใช้แอมโมเนียมได้บ้างและเจริญเติบโตดีด้วย สำหรับผักที่ปลูกบนดินไม่ว่าจะเป็นผักอินทรีย์ที่ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือผักที่ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรีย เมื่อปุ๋ยเหล่านั้นลงไปในดิน จุลินทรีย์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นไนเตรท ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่ามีไนเตรททั้งในผักอินทรีย์ ผักดินใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และผักไฮโดรโพนิกส์ เป็นความจริงที่โดยเฉลี่ยแล้วผักไฮโดรโพนิกส์มีไนเตรทมากกว่าผักในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักที่ต้องการความเข้มข้นของปุ๋ยสูง เช่น คะน้าและร็อคเกต ส่วนผักไฮโดรโพนิกส์ที่ใช้ปุ๋ยความเข้มข้นต่ำ เช่น ผักสลัดและผักกวางตุ้ง ความแตกต่างของระดับไนเตรทจากผักดินจะไม่มาก และในบางครั้งเคยพบว่าผักไฮโดรโพนิกส์มีระดับไนเตรทต่ำกว่าผักดิน ถ้าเราดูกฎระเบียบค่าตกค้างสูงสุดของไนเตรทในสินค้าอาหารของสหภาพยุโรป No. 12582/2011 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2011 ฉบับแก้ไขปรับปรุง No. 1881/2006 ที่มีผลบังคับใช้กับพวกเราชาวไทยที่ส่งสินค้าออก ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไปนั้นกำหนดปริมาณไนเตรทสูงสุดไว้ดังนี้ 1. ผักโขมสด 3,500 ppm. 2. ผักโขมดอง แช่แข็ง หรือแช่เย็น 2,000 ppm. 3. ผักกาดหอมสด 3,000 - 5,000 ppm. 4. ผักกาดแก้ว 2,000 - 2,500 ppm. 5. ผักร็อคเกต 6,000 - 7,000 ppm. เราจะเห็นว่าเขาให้ขีดจำกัดไว้สูง ผักไฮโดรโพนิกส์ของไทยควรจะผ่านมาตรฐานนี้ได้ เพราะประเทศไทยมีแสงแดดเพียงพอและมีวันยาว จึงส่งเสริมการนำเอาไนเตรทไปใช้ประโยชน์ในการสังเคราะห์สารที่เป็นประโยชน์ต่างๆ และความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ในประเทศไทยต่ำกว่าในเมืองหนาวมาก ความเข้มข้นของไนเตรทในปุ๋ยจึงต่ำกว่ามากตามไปด้วย นอกจากนี้กลุ่มอาจารย์เกษียณอายุ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เปิดสอน การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์มากว่าสิบปี ก็สอนเทคนิคการปลูกผักให้ได้คุณภาพดีและมีไนเตรทต่ำด้วย นอกจากนี้ผมยังตีพิมพ์เผยแพร่แนวทางการลดไนเตรทในผักไฮโดรโพนิกส์ให้แก่บุคคลทั่วไปใน วารสารเคหการเกษตรและใน Internet (www. Phutalay.com) ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคที่ไม่ยุ่งยากต่างๆ เช่น การปลูกผักโดยเริ่มต้นที่ความเข้มข้นค่อนไปทางสูงแล้วลงมาจนถึงความเข้มข้นต่ำมากก่อนเก็บเกี่ยวและทำปุ๋ยให้มีโมลิบดีนัมเพียงพอ เนื่องจากโมลิบดีนัมเป็นธาตุที่จำเป็นในการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสที่เร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงไนเตรท ต่อมาหลังจากนั้น รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง อาจารย์ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าการใช้เชื้อรา Trichoderma asperellum (ชื่อเดิมคือ Trichoderma harzianum) สายพันธุ์ CB-Pin-01 เพื่อป้องกันโรครากเน่า โรคใบจุดในผักสลัดและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตนั้น สามารถลดปริมาณ ไนเตรทได้ประมาณ 20% เราสามารถปลูกผักสลัดที่มีไนเตรทประมาณ 1000 ppm ได้โดยไม่ต้องเลี้ยงในน้ำเปล่า 2 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยวให้เสียรส เทคนิคของพวกเราเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการไฮโดรโพนิกส์ของประเทศไทย ความกังวลของประชาชนทั่วไปทางด้านระดับไนเตรทในผักเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดว่าเกลือไนเตรทเป็นสารก่อมะเร็งและไนเตรทถูกสะสมไว้ในผัก ตามความเป็นจริงแล้วไนเตรทเป็นปุ๋ยไนโตรเจนหลักของพืช พืชจะนำไนเตรทไปเปลี่ยนแปลงผ่านไนไตรท์ไปเป็นแอมโมเนียมและต่อไปเป็นหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนจนเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนและของสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่างๆ ในพืช นั้นคือ ไนโตรเจน จากไนเตรทถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนประกอบของสารสำคัญมีประโยชน์ต่างๆ ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ เช่น โปรตีน ไนเตรทที่อยู่ในผักนั้นเป็นไนเตรทที่ถูกดูดซึมเข้ามาใหม่ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ผู้ที่กังวลในเรื่องนี้ได้ยินมาว่า ไนเตรทที่กินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นไนไตรท์และไปเป็นไนโตรซามีนที่เป็นสารก่อมะเร็งที่เราเคยได้ยินกันอยู่เสมอว่าสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ที่หลายอวัยวะ เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงของไนเตรทดังกล่าวมีจริงแต่เป็นส่วนน้อยนิดของไนเตรทเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไปได้ถึงไนโตรซามีน หรือสาร N-ไนโตรโซ เมื่อเราพิจารณาดูรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงไนเตรทไปเป็นไนโตรซามีนทั้งด้านแนวทางและในเชิงปริมาณโดยอาศัยข้อมูลจาก American Journal of Epidemiology ที่จัดพิมพ์โดย The Johns Hopkins University School of Hygiene and Public Health เป็นหลักแล้วจะพบว่าไนเตรทที่เรากินแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วนั้นจะเข้าสู่น้ำลายประมาณ 25% เมื่อน้ำลายเข้าสู่ปากบางส่วนของไนเตรทในน้ำลายจะถูกจุลินทรีย์ในปากเปลี่ยนไปเป็นไนไตรท์และถูกกลืนกลับไปใหม่ สรุปได้ว่า 5% ของไนเตรทที่กินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไนไตรท์ โดยทั่วไปผักมีไนไตรท์น้อยมากแต่ถ้าเรากินอาหารที่มีไนไตรท์เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ฯลฯ ไนไตรท์ทั้งหมดของเราจะเท่ากับไนไตรท์ที่กิน +0.05 x ไนเตรทที่กินเข้าไป การเปลี่ยนแปลง ไนไตรท์ที่เป็นไนโตรซามีนที่เป็นสาร N-ไนโตรโซเกิดขึ้นได้ในหลายสภาพ เช่น สภาพความร้อนสูงหรือสภาพที่เป็นกรดเป็นต้น ในกระเพาะมีสภาพที่เป็นกรดมากพอที่จะเปลี่ยนไนไตรท์ไปเป็นกรดไนตรัส กรดไนตรัสสองโมเลกุลจะกลายเป็นไดโนโตรเจนไตรออกไซด์กับน้ำ และขั้นตอนต่อไปเป็นทำปฏิกริยาไนโตรเซซัน ระหว่าง ไดโนโตรเจนไตรออกไซด์กับอามีนจากโปรตีน ซึ่งอัตราความเร็วของปฏิกริยานี้จะเป็นสัดส่วนกับความเข้มข้นของอามีน และกำลังสองของความเข้มข้นของไนไตรท์ เมื่อพิจารณาถึงการเกิดไนโตรโซไดเมทธิลลามีน (NDMA) จากไดเมทธิลลามีนที่มี conversion constant เท่ากับ 0.0022 เราสามารถหาจำนวนไมโครกรัมของ NDMA ได้จากสูตรต่อไปนี้ [μg NDMA] = 0.0022 [mg NO2-]2 มิลลิกรัมของไนโตรท์ (NO2-) นั้นเท่ากับ มิลลิกรัมของไนเตรทคูณ 0.05 และถ้าเรากินไนไตรท์ด้วยก็บวกเพิ่มเข้าไปผักโดยทั่วไปมีไนไตรท์น้อยมากจนไม่ต้องคำนึงถึง เราจะพบไนไตรท์มากในผลิตภัณฑ์สัตว์ประเภท เบคอน แฮม ไส้กรอก ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีทั้งไนเตรท ไนไตรท์และไนโตรซามีน ถ้าท่านค้นหาตัวเลขเหล่านี้ได้แล้ว ผมคิดว่าคงจะลดการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลงบ้างเหมือนผม จากที่กล่าวมาแล้วท่านอาจเห็นได้ว่าไนโตรซามีนที่ได้จากไนเตรทนั้นน้อยมาก เพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างจากอาหารฝรั่งทั่วไป ฝรั่งโดยทั่วไปได้รับไนเตรทจากอาหาร 44.31±4.04 mg/วัน ได้รับไนไตรท์จากอาหาร 0.50±0.05 mg/วัน ซึ่งจะคิดรวมเป็นการได้ไนไตรท์ 2.71±0.34 mg/วัน คนทั่วไปได้รับ NDMA 1.14±0.25 μg/วัน ถ้าเราเอา NDMA ที่คำนวณได้จากไนโตรท์ทั้งหมดมาบวก เราจะได้ NDMA รวมทั้งสิ้น 1.21±0.25 μg/วัน คงเห็นได้ชัดเจนแล้วว่าไนโตรซามีนที่ได้รับเกือบทั้งหมดมาจากไนโตรซามีนที่เรากินเข้าไปจากภายนอก ส่วนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยนิด จากสูตรที่ให้ไว้แล้วท่านอาจทดลองคำนวณดูได้ว่าเรากินผักที่มีไนเตรทระดับหนึ่งๆในปริมาณหนึ่งเราจะได้ไนโตรซามีนเท่าไร เมื่อเป็นเช่นนี้เราคงจะเห็นได้ว่าความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผักไฮโดรโพนิกส์ที่มีสาเหตุมาจากการคล้อยตามคำกล่าวของผู้ที่เข้าใจผิดที่จริงแล้วระบบไฮโดรโพนิกส์สามารถผลิตผักที่มีรสชาติดีตามที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยเพราะสามารถปรับสภาพแวดล้อมของผักได้มากกว่าเมื่อปลูกในดิน เราสามารถควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผักได้อีกด้านหนึ่งด้วย นอกจากนี้เรายังสามารถวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการได้อย่างเที่ยงตรง ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงไม่น่าแปลกใจที่คณะกรรมการโอลิมปิกเมื่อครั้งที่เตรียมจัดงานโอลิมปิกในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียทั้ง Sydney 2000 Olympiad และ Sydney 2000 Para-Olympiad ได้กำหนดให้เกษตรกรไฮโดรโพนิกส์ของออสเตรเลียเตรียมผลิตมะเขือเทศ ผักสลัด แตงกวา พริกหวาน มะเขือและสตรอเบอรี่ให้เพียงพอสำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 25,000 คน และผู้เข้าชม 8 ล้านคนในช่วงเวลา 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม ผู้ปลูกพืชผักไฮโดรโพนิกส์ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ในการผลิตได้ตามกำหนดและผ่านการตรวจสอบคุณภาพที่เข้มงวดได้ทั้งหมด ผู้ผลิตดอกไม้ด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ก็พลอยประสบความสำเร็จไปด้วย ผมขอขอบคุณผู้สงสัยทั้งหลายที่ถามผมเรื่องความปลอดภัยของผักไฮโดรโพนิกส์ที่มีหลายท่านจนจำไม่ได้ เมื่อท่านทั้งหลายมีความสนใจทางด้านความปลอดภัยของอาหาร ผมอยากให้ท่านให้ความสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารอย่างอื่นด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับไนโตรซามีน เราควรระวังทางด้านผลิตภัณฑ์ประเภท แฮม เบคอนและไส้กรอกที่มีทั้งไนเตรท ไนไตรท์และไนโตรโซไดเมทธิลลามีน (ไนโตรซามีนชนิดที่พบทั่วไป) ถ้ายิ่งทอดด้วยความร้อนสูงก็ยิ่งมีไนโตรซามีนมากขึ้น ปลาเค็มแบบไทย-จีน ที่เราชอบกินกันอยู่ก็มีปริมาณ ไนโตรซามีนสูงจนน่ากังวล การศึกษาเรื่องการก่อมะเร็งของปลาเค็มในไต้หวันและในประเทศจีนพอหาอ่านได้ บทความของ นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ เรื่องรู้ทันมะเร็ง-ไนโตรซามีน : สารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์หมักดอง เตือนผู้บริโภค หัวข้อ: Re: ปัญหาไนเตรดตกค้างในพืช Hydroponics เริ่มหัวข้อโดย: civilthai ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2018, 03:41:12 pm เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) http://www.thaipan.org/node/879 (http://www.thaipan.org/node/879) https://www.facebook.com/ThaiPesticideAlertNetwork/posts/1385715188197335 (https://www.facebook.com/ThaiPesticideAlertNetwork/posts/1385715188197335) เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)โดยนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงาน ได้แถลงผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ ประจำปี 2561 โดยการเฝ้าระวังครั้งนี้มีเป้าหมายในการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินหรือผักโฮโดรโปนิกส์ ทั้งนี้โดยไทยแพนได้เก็บตัวอย่างผักไฮโดรโปนิกส์จำนวน 30 ตัวอย่างจากตลาดและห้างทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ผลการวิเคราะห์พบว่ามีผักจำนวน 19 ตัวอย่างพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน หรือคิดเป็น 63.3% ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด โดยพบผักที่ไม่มีการตกค้างเลย 8 ตัวอย่าง และพบว่าตกค้างแต่ไม่เกินมาตรฐาน 3 ตัวอย่าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการตกค้างของผักและผลไม้ทั่วไปซึ่งไทยแพนได้สำรวจและวิเคราะห์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา พบว่ามีการตกค้างสูงกว่า โดยผักทั่วไปพบการตกค้างเกินมาตรฐาน 54.4% “ความเข้าใจของประชาชนที่คิดว่าผักไฮโดรโปนิกส์เป็นผักที่ปลอดภัยกว่า มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อยหรือไม่ใช้เลย จึงไม่เป็นความจริงแต่ประการใด โดยไทยแพนพบสารพิษตกค้าง 25 ชนิด เช่น สารกำจัดวัชพืช (Herbicide) 1 ชนิด คือ Ametryn สารป้องกันและกำจัดโรคพืช (Fungicide) 6 ชนิด ได้แก่ Azoxystrobin, Chlorothalonil, Difenoconazole, Metalaxyl, Propamocarb และ Pyraclostrobin สารกำจัดแมลงและไร (Insecticide and Acaricide) รวม 18 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่ม Carbamate 2 ชนิด ได้แก่ Carbofuran และ Methomyl กลุ่ม Organophosphate 3 ชนิด ได้แก่ Chlorpyrifos, Dimethoate และ Omethoate กลุ่ม Pyrethroid 3 ชนิด ได้แก่ Cypermethrin, Etofenprox และ Lambda Cyhalothrin กลุ่มอื่นๆ 10 ชนิด ได้แก่ Abamectin, Acetamiprid, Chlorantraniliprole, Chlorfenapyr, Chlorfluazuron, Emamectin, Fipronil, Imidacloprid, Lufenuron และ Spinetoram ที่น่าเป็นห่วงคือสารทั้งหมดที่พบนั้นเป็นสารดูดซึมมากถึง 17 ชนิด ทำให้การล้างเพื่อลดจำนวนสารตกค้างลงเป็นไปได้ยาก” นางสาวปรกชลกล่าว ไทยแพนยังได้ตรวจการตกค้างของไนเตรทในผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเนื่องจากการตกค้างของไนเตรทเกินมาตรฐานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานการตกค้างของ EU เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดระดับการตกค้างสูงสุด โดยพบว่าผักเรดคอรัล เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค บัตเตอร์เฮด และ ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก มีไนเตรทตกค้างตั้งแต่ 199-2,500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างที่เกินค่ามาตรฐาน ส่วนผักคะน้า ผักกาดฮ่องเต้ ผักโขมแดง และผักบุ้งจีนที่ปลูกแบบไร้ดินนั้น พบการตกค้างของไนเตรทระหว่าง 2,976-6,019 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าผักในกลุ่มแรกอย่างเห็นได้ชัด แต่ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการตกค้างแต่อย่างใด “ผลการเฝ้าระวังครั้งนี้จะนำเสนอต่อผู้ประกอบการ เพื่อให้มีมาตรการสำหรับดำเนินการกับผู้ผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีสารพิษและไนเตรทตกค้างเกินมาตรฐานต่อไป ส่วนผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดรายชื่อของผักไฮโดรโปนิกส์ทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยได้ที่เว็บไซท์หรือเพจของไทยแพน (Thai-PAN)” นางสาวปรกชลกล่าว นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา จากกลุ่มเปลี่ยนโลกกล่าวว่า “ผู้บริโภคจำนวนมากยังสับสนเข้าใจว่าผักไฮโดรโปนิกส์กับผักออร์แกนิคหรือเกษตรอินทรีย์นั้นเหมือนกัน และเข้าใจว่าไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่ประการใด การศึกษาครั้งนี้ทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นว่าผักโฮโดรโปนิกส์ไม่ได้ปลอดภัยกว่าผักทั่วไปที่ปลูกโดยใช้ดิน ทั้งๆที่การปลูกแบบนี้ควรจะมีการจัดการให้ปลอดภัยกว่าได้” “ผลการเฝ้าระวังครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ควรมีการกำหนดมาตรฐานการตกค้างของไนเตรตในผักไฮโดรโปนิกส์ และประเมินความเสี่ยงจาการได้รับสารนี้จากพืชผัก กรมวิชาการเกษตรควรมีการทำข้อกำหนด และให้ความรู้เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีในผักไฮโดรโปนิกส์ให้อยู่ในระดับปลอดภัย ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำเป็นต้องเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการติดตามเฝ้าระวังในผักทั่วไป” นางสาวกิ่งกรกล่าว สวนชีววิถี นนทบุรี, 22 มกราคม 2561 http://www.siamfarm.com/jrstw/Hydroponics/Thai Pan/Hydroponic_Thai Pan_Result.pdf เว็บไซด์ สยามฟาร์ม Powered by Civilthai.com
|