SiamFarm.com
ชื่อผู้ใช้งาน  
รหัสผ่าน


สยามฟาร์ม SiamFarm
ขอเชิญเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ แชร์เรื่องราวที่อาจมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยนะครับ

หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคกระดูกหัวเข่าปูด (Osgood-Schlatter Disease) จากการฝึกกีฬาที่ต้องกระโดด  (อ่าน 43298 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
civilthai
Administrator
ผู้บัญชาการ
*****

คะแนนความนิยม: 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1183



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2013, 04:09:58 pm »

โรคเข่าปูดหรืออาการ Osgood-Schlatter Disease/Symptom (อ๊อสกูด ชแล็ตเตอร์) หรือเรียกสั้นๆว่า OSD คือโรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ชื่ออาการนี้ตั้งชื่อตามนายแพทย์สองท่าน (Dr. Robert Bayley Osgood จาก  Harvard University และ Dr. Carl Schlatter จาก University of Zurich) ที่ได้พบโรคหรืออาการนี้เมื่อปี 1903 เกือบ 110 มาแล้ว ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการแพทย์ คืออาการโดยทั่วไปเจ็บเข่าที่ปุ่มกระดูกด้านหน้า เมื่อกดปุ่มนูนที่ใต้หัวเข่าแล้วมีอาการเจ็บ นั่งคุกเข่าไม่ได้ เพราะปุ่มที่ปูดนูนถูกกดทับ รู้สึกเจ็บเมื่อเดินขึ้นบันได มีอาการเจ็บเมื่อกระโดด หรือมีการยืดเหยียดหรืองอบริเวณหัวเข่าอย่างรวดเร็ว  

อาการของโรค กล่าวคือมีอาการปวดเข่า (knee pain) และบวม (swelling) ที่ใต้หัวเข่าลงไประยะประมาณ 2-3 นิ้ว ซึ่งเกิดจากแรงดึงของเส้นเอ็นที่ยึดติดกับกระดูกสะบ้าหัวเข่า (Patellar Tendonitis ) กับกระดูกหน้าแข้ง (tibia) ทำให้กระดูกหน้าเกิดรอยแยกเนื่องกระดูกหน้ายังโตและแข็งแรงไม่เต็มที่

และนี่คือสาเหตุของโรค Osgood Schalatter ที่เกิดขึ้นกับนักกีฬา


ดูวีดีโอรายละเอียดเกี่ยวกับอาการของโรคนี้


พบมากในนักกีฬาที่ต้องทำการวิ่งและกระโดดในเวลาเล่นเช่น แบดมินตัน บาสเกตบอล ยิมนาสติก ฟุตบอล โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุตั้งแต่ 10 ถึง 15 ปี (บางตำรา 9-15 ปี) เกิดขึ้นกับเด็กที่เป็นนักกีฬามากกว่าเด็กที่ไม่ใช่นักกีฬา เกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง แต่บางข้อมูลก็บอกว่าสามารถเกิดได้กับเด็กผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่าๆกัน แต่พอโตอายุ 16 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กผู้ชาย และ 14 ปี สำหรับเด็กผู้หญิง เมื่อเด็กเจริญเติบโตเต็มที่ กระดูกก็จะเจริญเติบโตเติมช่องว่าง แล้วอาการก็จะทุเลาหรือหายไปเอง แต่ปุ่มที่นูนใต้เข่าก็ยังคงสภาพนูนอยู่แต่ไม่มีผลต่ออาการเจ็บใดๆ สรุปสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือ

1. เด็กที่มีอายุในช่วง 10-15 ปี ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (Rapid growth)
2. มีส่วนเกี่ยวข้องกับกีฬา
3. หักโหมในการซ้อม (high level of sporting activity)

การรักษาผู้ป่วยโรค OSD

1.   พักการฝึกซ้อมสำหรับเด็กนักกีฬาหรือลดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดอาการ เช่น กระโดด คุกเข่า
2.   ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่เจ็บ 2-3 ครั้งต่อวัน นานครั้งละ 20-30 นาที
3.   ถ้าเจ็บมาก ใช้ยาในกลุ่ม Ibuprofen, Aleve, Advil or other nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs), or acetaminophen (Tylenol). แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาในกรณีที่ต้องทำการแข่งขัน ควรจะต้องอยู่ในช่วงพักร่างกาย การรักษาที่ดีที่สุดคือการให้เด็กนักกีฬาพักรักษาตัว หรือใช้งานช่วงหัวเข่าให้น้อยที่สุด
ข้อแนะนำและข้อคิดสำหรับผู้ป่วย OSD รวมผู้ปกครองหรือบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องกับกีฬาโดยเฉพาะเด็ก
1.   ไม่ควรหักโหมในการฝึกกีฬาสำหรับเด็ก
2.   ไม่ควรให้มีการจัด Ranking สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี กล่าวคือ เมื่อมีการจัดอันดับมือวางขึ้นแล้ว โดยส่วนใหญ่ทีมและผู้ปกครองต้องการให้เด็กมีมือวางอันดับที่ดี ดังนั้นจึงต้องทำการฝึกหนัก โดยส่วนตัวคิดว่า เด็กต่ำกว่า 10 ปี ควรฝึกกีฬา 4 วันต่อสัปดาห์ เด็กต่ำกว่า 12 ปี ไม่ควรเกิน 5 วัน และเด็กต่ำกว่า 15 ปี มากสุดไม่ควรเกิน 6 วันต่อสัปดาห์ พักเป็นพัก
3.   ไม่ควรฝึกการทำกำลังในท่าที่ต้องใช้หัวเข่าอย่างหนัก เช่น ท่าขึ้น ลง เก้าอี้ ฝึกกระโดด
4.   ควรทำการบริหารหรือเพิ่มกล้ามเนื้อหน้าขา เพื่อแบ่งเบาภาระเอ็นที่ยึดติดกับกระดูกหน้าแข้ง เช่น นั่งเก้าอี้ลม
5.   ให้ความสำคัญต่อการยืดเหยียดทั้งก่อนและหลังเล่นหรือฝึกกีฬา
6.   ใช้อุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บ เช่น ที่รัดใต้หัวเข่า (knee strap) หรือ ที่รองส้นเท้า (knee cap) ในระหว่างการซ้อมรวมถึงการแข่งขัน
7.   ใช้อุปกรณ์กีฬาที่ดี มีคุณภาพ เช่น รองเท้า เป็นต้น
8.   รู้จักวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น RICE (Rest, Ice, Compression and Elevated) คือ เมื่อเจ็บแล้วต้องทำการพักทันที ใช้น้ำแข็งประคบ พันผ้าก๊อตกดส่วนที่เจ็บ และยกส่วนที่เจ็บให้สูงกว่าหัวใจ ท่องไว้ครับกฎนี้ RICE
9.   สังเกตุอาการบาดเจ็บของเด็กนักกีฬาอยู่เสมอ (ไม่มีใครห่วงใยเท่าพ่อ แม่) ถ้าเจ็บต้องหยุดพักทันที่ อย่าฝืน --> เสียดายที่ผมรู้จักโรคนี้ช้าเกินไป ไม่อย่างนั้นลูกผมจะไม่ทรมานจากโรคนี้ (รู้ชื่อโรคจากการไปขอก็อปปี้ใบรักษาของหมอ แล้วมาค้นหาเพิ่มเติมเอง)...เลยอยากจะแชร์ให้ผู้ปกครองนักกีฬาได้ทราบเพื่อหลีกเลี่ยงจากโรคนี้...

 ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2018, 10:37:30 pm โดย civilthai » บันทึกการเข้า
rangarlol
ผู้หมวด
**

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2014, 01:41:19 pm »

ได้เนื้อหาสาระดีมกาครับ
บันทึกการเข้า

wantanun2497
ผู้หมวด
**

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 04:47:46 pm »

เป็นประโยชน์มากเลยครับโพสนี้  sbobet ออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2018, 02:46:59 pm โดย wantanun2497 » บันทึกการเข้า

IAMSPAM004
ผู้หมวด
**

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2014, 12:25:05 pm »

เป็นโรคที่ควรระวังครับ
บันทึกการเข้า

Thanawuth11
ผู้หมวด
**

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 21, 2017, 03:59:39 pm »

ต้องระวังให้มากนะครับเพราะกระดูกสำคัญมากครับ
บันทึกการเข้า

civilthai
Administrator
ผู้บัญชาการ
*****

คะแนนความนิยม: 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1183



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 08, 2017, 04:17:29 pm »

ลูกชายผมเป็น OSD ตอนเด็กๆ ช่วงอายุ 12 ปีเห็นจะได้ สาเหตุเกิดจากการซ้อมแบดมินตันอย่างหนัก ประมาณ 6 วัน/สัปดาห์ บางอาทิตย์ก็ซ้อมทุกวัน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผม (เป็นความผิดพลาดของผมเอง) ที่จริงจังกับการซ้อมของลูก ผลลัพท์ที่ได้คือ ลูกต้องทนเจ็บตลอดการซ้อมและการแข่งขัน ทำให้มีอุปสรรคเป็นอย่างต่อความเป็นเลิศในกีฬา แต่เขาก็ใจสู้น่าดู  ร้องไห้

ผมจึงอยากแชร์เรื่องนี้ให้คนที่มีลูกเป็นนักกีฬาได้ทราบในเบื้องต้น การซ้อมอย่างหนักของเด็กช่วงอายุ 9-15 ปี อาจนำมาซึ่งความล้มเหลวได้....ผู้ปกครองควรตระหนักในเรื่องนี้กันด้วยครับ

ผมเชื่อว่าโค้ชหลายคนยังไม่ทราบว่า OSD มันเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นเราควรรู้เอา...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2017, 04:20:40 pm โดย civilthai » บันทึกการเข้า
aom
Global Moderator
ผู้หมวด
*****

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


Funny Ploy :-)


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 08, 2017, 04:30:29 pm »

 ร้องไห้
บันทึกการเข้า
Rootmay8
ผู้หมวด
**

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2017, 04:26:51 pm »

ดูแลเรื่องอาหารการกินด้วย ทานอาการที่มีกรดยูริคน้อยๆ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

Sibowmi
ผู้หมวด
**

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 21, 2018, 11:27:46 am »

เป็นความรู้ที่ดีมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
civilthai
Administrator
ผู้บัญชาการ
*****

คะแนนความนิยม: 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1183



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2020, 12:36:59 am »

แม่เผย “นิวเบ็คแฮม” ลูกครึ่งไทย-อังกฤษ แห่ง "แมนฯ ยูไนเต็ด" มีอาการป่วยสุดทรมาน

จารุณี เมอร์เรย์ คุณแม่ของ คอร์บิน เมอร์เรย์ ดาวเตะลูกครึ่งไทย-อังกฤษ เยาวชนในอคาเดมี่ แมนฯ ยูไนเต็ด มีอาการป่วยเนื่องจากการเจริญเติบโตของกระดูก

โดย คอร์บิน เมอร์เรย์ อยู่ในอคาเดมีของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มาหลายปี ล่าสุด มีรายงานว่า ดาวรุ่งรายนี้ได้รับข้อเสนอกับสัญญาเพิ่มอีก 2 ปี จากสโมสรยักษ์ใหญ่แห่งนี้

สำหรับ คอร์บิน เมอร์เรย์ วัย 12 ปี ถูกคาดหมายว่า จะเก่งกาจเหมือน เดวิด เบ็คแฮม เนื่องจากมีทีเด็ดในเรื่องการยิงประตูจากฟรีคิก และหน้าตาหล่อเหลาจนมีการเรียกขานว่าเป็น "นิวเบ็คแฮม"

อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยจากคุณแม่เก๋ จารุณี ว่า บุตรชายนั้นมีอาการป่วยที่ทำให้ต้องเจ็บปวดทรมาน ว่า “คอร์บินเป็น Osgood–Schlatter disease เนื่องจากน้องสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระดูกโตไปเรื่อยจนกล้ามเนื้อตามไม่ทัน สรุป อักเสบ ปวดและบวมจนน่ากลัวอย่างที่เห็น ตอนนี้เลยต้องหยุดวิ่ง หยุดฟุตบอลสักระยะ, ประคบเย็นอยู่เสมอ, ใส่ที่รัดใต้หัวเข่า, ออกกำลังกายให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหน้าขา etc. (เก๋จำได้ไม่หมด) นักกายภาพบำบัดประจำสโมสรเรียกให้เข้าไปพบเป็นกรณีพิเศษอาทิตย์นี้ (จริงๆแล้วทางสโมสรยังปิดอยู่) ลูกบ่นเจ็บบ่นปวดน่าสงสารมากเลย”

ขอบคุณภาพจากไอจี kiana_corbyn

ที่มา:

https://mgronline.com/sport/detail/9630000051645
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2020, 12:40:18 am โดย civilthai » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


* Share this topic......
For Webboard
(BBCode)
For Website/Blog
(HTML)