civilthai
|
|
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2010, 10:50:53 pm » |
|
การเล่นไพ่แแบบเวียดนาม ไพ่ต๋าหล่า (Ta La)
การเล่นไพ่ต๋าหล่าจะพบเห็นทั่วไปที่เวียดนาม ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็นิยมเล่นกัน ในระหว่างที่มีเวลาว่าง เช่น ช่วงพักหรือช่วงไม่มีแขกของพนักงานร้านอาหาร ช่วงว่างของพนักงานขับรถ เป็นต้น ไพ่ต๋าหล่าเป็นไพ่ที่เล่นง่ายไม่ซับช้อน เหมือนไพ่รัมมี่ของไทย ดังนั้นจึงมีคนนิยมเล่นไพ่ต๋าหล่านี้ให้เห็นโดยทั่วไปที่เวียดนาม
กติกาการเล่น ในกรณีที่ 4 คน (มักจะเล่นกัน 4 คน เหมือนไพ่รัมมี่ที่เมืองไทย)
1. เวียดนามจะไม่คำนึงถึงที่นั่งหรือตำแหน่งของผู้เล่น ดังนั้นสามารถจัดที่นั่งกันเองได้ตามสะดวก (แต่บางครั้งก็เห็น ยืนเล่นกันด้วย) ผู้เขียนเคยแนะนำให้เขาจับไพ่กันก่อน แล้วนั่งตามไพ่โดยเรียงลำดับ ซึ่งเขาก็เห็นด้วย เล่นกันไปเรื่อยๆ โดยไม่เห็นมีการสลับที่นั่งกัน 2. ผู้เริ่มเล่นก่อนเป็นผู้สับไพ่และแจกจ่ายให้ตัวเองก่อนและผู้เล่นอื่น โดยไม่คำนึงถึงการเชิญตัดไพ่จากผู้เล่นอื่นๆ สามารถแจก ไพ่ได้เลย เขาจะไม่ตัดไพ่กันสำหรับคนเวียดนาม 3. แจกให้ผู้เล่นแต่ละคนเท่ากัน 9 ใบ แต่จะแจกเพิ่มให้ผู้เริ่มเล่นก่อนอีกหนึ่งใบรวมเป็น 10 ใบ (กล่าวคือผู้เริ่มเล่นจะได้ไม่ต้องจั่ว ในกอง ทิ้งไพ่ให้มือถัดไปเลย) สุดท้ายแล้วทุกขาจะถือไพ่เท่ากัน คนละ 9 ใบเท่านั้น 4. การจัดคู่ของไพ่เป็นดังนี้ 4.1 ตอง (ไพ่สามใบเหมือนกัน) เช่น ตองเอจ (AAA) จนถึง ตองคิง (KKK) 4.2 เรียง (ไพ่เรียงกันสามใบ) เช่น 123 จนถึง JQK (แจ๊ค แหม่ม คิง) โดยมีสีดอกของไพ่เหมือนกัน เช่น โพดำ, ดอกจิก, หัวใจ หรือ ข้าวหลามตัด ที่น่าสังเกตคือ 123 ก็จับมาเรียงกันได้ ไม่เหมือนรัมมี่ของไทยที่ไม่อนุญาติให้เรียง แบบนี้ และไม่สามารถเรียง QKA (แหม่ม คิง เอจ) ได้เหมือนไพ่รัมมี่ของไทย 4.3 ไพ่เรียงกันหลายใบ เช่น ไพ่เหมือนกันสี่ใบ AAAA จนถึง KKKK และเรียงแบบไม่จำกัดจำนวน เช่น 1,2,3,4,5..... หรือ .....9,10,J,Q,K โดยจะต้องมีดอกไพ่เดียวกัน 5. เริ่มเล่นจากผู้แจกไพ่ก่อน โดยจั่วที่กองในกรณีที่แจกไพ่คนละ 9 ใบตั้งแต่แรก จากนั้นทิ้งไพ่ให้ขาถัดไปตามเข็มนาฬิกา โดยตัวเองจะต้องเหลือไพ่ในมือ 9 ใบเท่านั้น ถ้าแจกให้ตัวเอง(ผู้เริ่มเล่น) 10 ใบแล้ว ก็ทิ้งไพ่ให้ขาถัดไปเลยโดยไม่ต้อง จั่วที่กองอีก 6. เมื่อมีการทิ้งไพ่มาให้ที่คิวของผู้เล่นต่อไปแล้ว ผู้เล่นสามารถที่จะกิน(อัน)ได้ กล่าวคือถ้ามีไพ่เข้าตองหรือเรียง (ซึ่ง ต่อไปนี้จะเรียกว่าชุด(ฝ่อม-Phom) หรือถ้าไม่มีชุดก็ต้องทำการจั่ว(บ๊อก-Boc)ไพ่ในกอง จากนั้นก็ต้องทิ้งให้ผู่เล่นคนต่อไป 7. จะดำเนินการเล่นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าไพ่จะจั่วกันจนหมดกองหรือมีผู้เล่นหนึ่งคนน๊อก(อู่-U) ถือว่าจบเกมส์ 8. เมื่อไม่สามารถน๊อกกันได้ ให้ผู้เล่นที่เล่นไพ่ครั้งสุดท้ายเปิดไพ่ที่มีชุดทั้งหมดออกมาที่หน้าตัก ทั้งที่กินมาหรือที่มีชุด อยู่ในมือ รวมทั้งไพ่ที่ต่อจากชุดของผู้อื่นก็ได้ (เหมือนรัมมี่) ตัวอย่างเช่น ถ้าเขาเปิดมาก่อนมีชุด 333 ถ้าเรามี 3 ก็ต่อจาก ของเขาได้ หรือถ้าเขามีเรียง 234 เราก็ต่อ 1 หรือ 5,6... ได้แต่ต้องเป็นดอกเดียวกัน ซึ่งไม่ต้องกินเขามาก็ถือว่ามีชุดได้เหมือนกัน ผู้ใดไม่ได้กินเขามา รวมทั้งไม่มีชุดในอยู่ในมือ ถือว่าหมก (ม๋อม - Mom) จะต้องจ่ายให้ผู้ชนะ (ผู้ที่มีแต้มน้อยสุด) เป็นเงิน 8,000 ด่อง 8. ในกรณีที่เกมส์นั้นไม่มีผู้เล่นคนใดน๊อก การชนะให้ถือว่าถ้าผู้ใดมีแต้มไพ่ที่ถืออยู่ในมือน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ ตัวย่าง เอจ(A)จะนับมีแต้มเท่ากับหนึ่ง ส่วน J เท่ากับสิบเอ็ด และ K เท่ากับสิบสาม เป็นต้น เช่น เหลือไพ่ A Q จะนับได้เท่ากับ 1+12 = 13 แต้ม เป็นต้น 8. การจ่ายเงิน ผู้มีแต้มน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ ผู้ที่มีแต้มมากที่สุดจะต้องจ่ายให้กับผู้ชนะ 6,000 ด่อง (เรียกว่า เบ็ต) ส่วนผู้ มีคะแนนรองลงมาจ่าย 4,000 และ 2,000 ด่อง ตามลำดับ รวมแล้วผู้ชนะ (ผู้ที่มีแต้มน้อยสุด) จะได้ 6,000+4,000+ 2,000 รวมเป็น 12,000 ด่อง 8. เมื่อเริ่มเล่นเกมส์ไหม่ ผู้ที่ได้หรือชนะในเกมส์ที่ผ่านมาจะเป็นผู้แจกไพ่ โดยการแจกให้ตัวเองก่อนเป็นลำดับแรก โดย ไม่มีการตัดไพ่ ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ (เวียดนามจะไม่นิยมตัดไพ่กัน) 8. การกินไพ่ของผู้อื่น โดยที่เรามีชุด(ฝ่อม-Phom) เราไม่จำเป็นต้องเปิดไพ่ของเราลงที่หน้าตักเหมือนกับการเล่นรัมมี่ เพียงแต่บอกว่าเขาว่ากิน(อัน-An)แล้ว โดยให้ถือไพ่ที่เรามีชุดจากการกินไพ่ของผู้อื่นไว้ในมือจนกว่าจะจบเกมส์การเล่น 9. เมื่อกินไพ่ของผู้เล่นก่อนหน้าเราแล้ว(ไม่สามารถกินไพ่จากมือต่อท้ายเราและมือตรงข้ามได้) ให้หยิบไพ่ที่กินมาไว้ที่ หน้าตักเราเพื่อแสดงให้เขารู้ว่าไพ่ใบนี้เรากิน จากนั้นก็ทิ้งไพ่ไปให้ผู้เล่นถัดจากเราไป โดยไม่สามารถจั่วไพ่ในกองได้อีก เหมือนกับการเล่นรัมมี่ จะมีไพ่อยู่ 9 ใบตลอดเวลา (รวมไพ่ที่กินเขามาที่อยู่ที่หน้าตักเรา) ไม่ว่าจะกินไพ่ผู้อื่นแล้วก็ตาม 10. ก่อนที่จะจบเกมส์ ผู้เล่นจะต้องทิ้งไพ่ครั้งสุดท้าย (Cuoi-สุดท้าย) ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ (ทิ้งไพ่ให้ผู้เล่นต่อไปใบที่สี่) จะต้องระวังโดยทิ้ง อย่างรอบคอบ ต้องพิจารณาก่อนว่าผู้เล่นที่เราจะทิ้งไพ่ให้ สามารถจะกินไพ่สุดท้าย (อัน ก๋วย กุ่ม - An cuoi cung)ที่เราทิ้งไปได้หรือไม่ 11. ถ้าผู้เล่นทิ้งไพ่ครั้งสุดท้ายแล้วถูกกิน ถือว่าเป็นการกินครั้งสุดท้ายจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้เล่นคนนั้น 8,000 ด่อง (ใน ที่นี้จะกำหนดอัตราการเล่นเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น) กล่าวเป็นนัยว่าการทิ้งไพ่ใบสุดท้ายจะต้องคิดอย่าง รอบคอบไม่ให้เขากินไพ่ที่เราทิ้งไปได้ 12. ผู้เล่นทุกคนจะต้องทิ้งไพ่ใบสุดท้ายเหมือนกันหมด ดังนั้นผู้เล่นทุกคนสามารถกินไพ่สุดท้ายได้เหมือนกันทุกคน (อัน ก๋วย กุ่ม) 13. แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าผู้เล่นคนใดกินไพ่ใบสุดท้ายไปแล้ว ซึ่งจะได้ 8,000 ด่อง แต่ถ้าเกิดมีผู้เล่นอื่นสามารถที่น๊อก (อู่ - U) ได้ ผู้เล่นคนที่กินใบสุดท้ายจะต้องจ่ายรอบวง (จ่ายให้ผู้น๊อกโดยคนเดียว โดยจ่ายแทนผู้เล่นอื่นแต่ก็ยังได้เงินจากการ กินครั้งสุดท้ายมา) เรียกว่า (เด่น - Den) 14. การน๊อก(อู่ - U) จะถือว่าเป็นการสิ้นสุดเกมส์ ผู้เล่นทุกคนจะต้องจ่ายให้กับผู้น๊อกคนละ 10,000 ด่อง ถ้าเล่นสี่คน ก็จะได้ 30,000 ด่อง แต่ถ้าน๊อกจากการกินครั้งสุดท้ายด้วยก็จะได้ 30,000+8,000 เป็น 38,000 ด่อง 15. กลับมาที่การกินครั้งสุดท้าย (อัน ก๋วย กุ่ม) แล้วทำให้ผู้เล่นคนอื่นน๊อกได้ จะต้องจ่ายรอบวง (เด่น - Den) กล่าวคือ ได้จากการกินครั้งสุดท้ายแต่จะต้องจ่ายให้กับคนน๊อกเป็นเงิน 30,000 ด่อง หักลบแล้วจะต้องจ่ายเพิ่ม 30,000 - 8,000 เป็น 22,000 ด่อง เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังในการกินครั้งสุดท้าย ที่จะเอาเงินเขามา 8,000 ด่อง 16. ข้อสังเกต ทำไมจะต้องจ่ายรอบวง สาเหตุคือเมื่อเรากินครั้งสุดท้าย เราไม่จั่วไพ่ แต่เราจะต้องทิ้งไพ่ให้คนถัดไป คือ ทำให้ผู้เล่นต่อไปมีโอกาสจั่วได้อีก นี่ก็เป็นสาเหตุว่าก่อนกินครั้งสุดท้ายจะต้องคิดให้รอบคอบว่า ผู้เล่นอื่นสามารถ น๊อกได้หรือไม่ ดังนั้นการกินครั้งสุดท้ายไม่ง่าย จะต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงอยู่เหมือนกัน 17. ดังนั้นถ้าเกิดมีการกินครั้งสุดท้าย ผู้เล่นคนอื่นสามารถที่จะคิดว่าถ้าทิ้งไพ่ใบไหนไปแล้วคนอื่นน๊อกได้ ก็ไม่ผิดกติกา โดยที่เราไม่ต้องจ่ายเงิน ให้คนที่กินครั้งสุดท้ายเป็นคนจ่ายรอบวงแทน ถือเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการเล่นไพ่ต๋า หล่า 18. ผู้ขนะอีกกรณีหนึ่งก็คือ ในกรณีที่เล่นไพ่จนหมดกองแล้ว ผู้เล่นสามคนไม่มีชุดใดเลยถือว่าหมก (ม๋อม - Mom)ทั้ง สามคน ดังนั้นผู้เล่นที่มีชุดอยู่คนเดียว ถึงแม้จะมีเพียงชุดเดียวก็ตาม ให้ถือว่าเป็นผู้ชนะ ผู้เล่นสามคนที่หมกจะต้องจ่าย ให้กับผู้ชนะคนละ 10,000 ด่อง ไม่ใช่ 8,000 ด่อง เพราะเสมือนถือว่าเขาน๊อก (อู่ - U)
เทคนิคการเล่น 1. จะเห็นว่าไพ่มี 9 ใบตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกจัดไพ่ให้ได้สามชุด ก็จะเป็นผู้น๊อก 2. ระวังในการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย เพราะถ้าโดนกินจะต้องจ่าย 8,000 ด่อง 3. ผู้เล่นส่วนใหญ่จะทิ้งใบโต (ตอ - To) เช่น K(คิง - กา) หรือ Q (แหม่ม - ควี) ก่อน เพราะมีแต้มมาก ผู้ขนะคือผู้ที่มี แต้มน้อยที่สุด 4. ควรสังเกตว่าผู้ที่เราจะทิ้งไพ่ให้ เขาทิ้งไพ่อะไรไปก่อนหน้านี้ เพื่อที่ไม่ให้เขากินไพ่เราได้
ข้อสังเกต 1. ไพ่ต๋า หล่า เป็นไพ่ที่เล่นง่าย กติกาไม่มากเหมือนรัมมี่ที่เมืองไทยเล่นกัน ไม่ต้องคิดมากมาย ไม่ต้องคำนึงว่ามีไพ่ อยู่ในมือกี่ใบ เพราะมี 9 ใบตลอดเวลา
สุดท้ายนี้ผู้เขียนได้มาศึกษาการเล่นไพ่ต๋าหล่าของเวียดนาม ด้วยต้องการรู้การเล่นไพ่ของเขา โดยไม่มีความประสงค์ ที่จะต้องการเล่นไพ่เป็นอย่างใด ดังนั้นผู้ที่ได้อ่านควรเล่นเพื่อเป็นเกมส์เท่านั้น อย่าเล่นเป็นการพนันเลยครับ ไม่ดีครับ
สุชาติ เขียนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 ที่อองบี (Uong bi) จังหวัด กวาง นิง (Quang Ninh) ประเทศเวียดนาม (Vietnam) เล่นเมื่ออาทิตย์ที่แล้วก่อนเขียนแนะนำกติกา
ศัพท์ที่ควรรู้ Boc บ๊อก เปิดไพ่ Chot โช๊ต Cuoi ก๋วย สุดท้าย Dang แด๋ง ทิ้งไพ่ Den เด่น จ่ายรอบวง (จ่ายแทนคนอื่นรวมทั้งของตัวเองให้แก่ผู้ชนะในเกมส์นั้น) Ha ฮ๊ะ เปิดไพ่ครั้งสุดท้าย Mom ม๋อม ไม่ได้เกิด (ไม่มีคู่อยู่เลย) Phom ฝ่อม ชุด (ไพ่เข้าขุดตองหรือเรียง) Ta La ต๋า หล่า ชื่อการเล่นไพ่แบบเวียดนาม U อู่ น๊อค (มีคู่ครบหมด) ชนะในเกม
|